วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คำถามท้ายบท

1. สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาใด
ตอบ จัดอยู่ในปรัชญาสาขา Axiology เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมนุษย์เข้าใจซาบซึ้งถึงคุณค่านั้น ด้วยกระบวนการทางญาณวิทยาคุณค่าที่กำหนดให้ศึกษาในวิชาปรัชญานี้มี 4 ประการ คือ 1. ความดี (จริยศาสตร์) 2. ความงาม ( สุนทรียศาสตร์)
3. ความจริง (ตรรกวิทยา)และ 4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ( เทววิทยา)


2.สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าความงามตรงกับคำว่า Aesthetic หมายถึง การรับรู้อันเป็นกระบวนการ ประสาทสัมผัส ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับอวัยวะสัมผัสภายในทำให้เกิดความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์สุนทรีย์จริยศาสตร์ Ethics เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาเรื่องความประพฤติที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำเน้นคุณค่าของพฤติกรรม คุณค่าของชีวิต

3.ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงามแนวคิดของปรัชญาความงาม คือ คุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสของมนุษย์อาจจะเห็นเป็นรูปรส กลิ่น เสียง กายสัมผัส แล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ความพึงพอใจ ให้เป็นสุข ความงามเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากกว่าเหตุผลความงามตามทัศนนะของข้าพเจ้า คือ ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ สิ่งของ เช่น ที่มนุษย์ขึ้น เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ รูปปั้นงานศิลปะที่สวยงามที่มนุษย์สร้างขึ้น ความงามเป็นสิ่งไม่ตายตัว ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคนว่าจะมองความงามในแต่ละด้านอย่างไร

4. สุนทรียธาตุคืออะไรมีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุแห่งความงาม แบ่งออก เป็น 3 ชนิด1. ความงาม(Beauty)2. ความแปลกหูแปลกตา(Picture squeness)3. ความน่าทึ่ง(Sublimity)สุนทรียธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ รับรู้ด้วยอารมณ์และความรู้สึกให้คุณค่าในทางบวก เช่น ความเพลิดเพลิน สุนทรียธาตุจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือ หรือแนวทางหนึ่งในการแสวงหาความสุขของมนุษย์

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ
โดยใช้หลักนักปรัชญา1. ปรนัยนิยม (Objectivelism) คือ การตัดสินใจโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของ อเทสะเป็นสำคัญ2. อัตนัยนิยม (Subjectivelism) คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง

6.ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินใจความงามของนักปรัชญา กลุ่มต่างๆมาอย่างน้อย 3 กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจแบบปรนัยนิยมPlato ความงามมาตรฐาน มีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติ ศิลปินเป็นผู้ระลึกได้ใกล้เคียงมากเป็นพิเศษAristotle ความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วน เพราะสัดส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ความยิ่งใหญ่ของศิลปินอยู่ที่ความสามารถในการค้นพบ ความงามและความกลมกลืน มาถ่ายทอดลงในสื่อการตัดสินแบบอัตนัยนิยมA. Richarts ศิลปะไม่มีหน้าที่ในการสอบหรือชี้แจง ลักษณะของสิ่งของแต่มีหน้าที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุนทรียธาตุ มีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งไม่ต่ยตัวขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนTheodurrlipps and Velman be สุนทรียธาตุเกิดจากการที่ศิลปิน หรือผู้ชมแทรกความรู้สึกของตนไปในศิลปกรรม ศิลปินแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ทางสุนทรียะต่างกัน

7. ท่านคิดว่า “คุณค่า” กับ “คุณสมบัติ” เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น และมีคุณค่าในตัวมันเอง คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง เหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะคุณค่าด้วย ดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรเหมือนกัน

8. คุณค่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ
คุณค่ามี 2 แบบ คือ1. คุณค่าในตัว (Intrinsic value)2. คุณค่านอกตัว ( Extrinsin value )คุณค่าในตัว เราต้องการสิ่งนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น การมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุขทางจิตใจ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเองคุณค่านอกตัว เราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้น แต่เพระสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิถีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น ต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปจับจ่ายซื้อของต่างๆได้ เราต้องการอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ต้องการยาเพื่อรักษาโรคต้องการศึกษา เล่าเรียน เพื่อมีความรู้ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้คุณค่าทั้ง2ประเภท

9. คำว่า "พยาบาล" กับ "ความเป็นพยาบาล" แตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ
พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่นแน มีเงินเดือน มีหน้าที่ สถานที่ทำงาน ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านการพยาบาล การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ความเป็นพยาบาลจะต้องไม่มีสิ่งที่ไม่เจือปน ดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลนให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้ป่วยเท่าเทียมกัน

ตอบคำถาม 5ข้อ

1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?
ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ
2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?
ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่
3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น?
ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ
4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน
5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์ผู้สอน


อาจารย์ผู้สอนวิชาสุนทรียศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม


จิตรกรรม(Painting)

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ
เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน

องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกรร
2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร (Painter) งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก เส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต่ การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึกฝนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม


ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคน
3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบน ฝาผนังอาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย 6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้นแสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาติชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่ง ต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์


สุนทรียศาสตร์ ( Aesthetics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวก จึงนับว่ามีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล
ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียภาพให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
สุนทรียศาสตร์กับวิชาชีพพยาบาล.....
การที่เราจะเป็นพยาบาลที่ดีได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการ สุนทรียศาสตร์ช่วยให้การเป็นพยาบาลมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดย
เสริมทั้งปัญญาให้เกิดความคิดถึงสัจจะธรรมความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่ เจ็บ ตายของมนุษย์
เกิดความคิดที่ช่วยเตือนสติตนเองให้มีอารมณ์ที่มั่นคง ต้องตั้งมั่นและอย่าหวั่นไหวกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต
เกิดการยอมรับกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งคนรอบข้างและตัวเราเอง
ช่วยให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา ผ่านไปถึงผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเหมาะสม